วิชาชีววิทยา - การพักตัวของเมล็ด PDF Print E-mail
User Rating: / 2
PoorBest 
Written by punjalak   
Saturday, 29 March 2014 12:43

.

ที่มา : http://www.scicoursewarechula.com/ อัพโหลดโดย CoursewareMaster

 

การพักตัวของเมล็ด หมายถึง ช่วงที่เมล็ดพืชยังไม่พร้อมที่จะงอกขึ้นเป็นต้นพืชใหม่ได้ ดังนั้นการเพาะเมล็ดบางชนิดอาจต้องทำลายการพักตัวของพืชก่อน เพื่อให้เมล็ดงอกได้เร็วยิ่งขึ้น วิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ด (Methods of breaking the dormancy of seeds)
๑. ลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก วิธีการนี้จะทำให้เมล็ดงอกเร็วขึ้นกว่าวิธีการเพาะเมล็ดทั้งเปลือกหุ้มเมล็ด ซึ่งวิธีการลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออกต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้เป็นอันตรายต่อเมล็ดภายในเพราะอาจจะทำให้การงอกของเมล็ดสูญเสียไปได้ พืชที่นิยมลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก ได้แก่ มะม่วง
๒. ฝนเมล็ด เป็นการทำให้เปลือกแข็งหุ้มเมล็ดเกิดเป็นรอยด้าน โดยการฝนเมล็ดลงบนกระดาษทรายหรือหินฝน ไม่ควรฝนลึกเกินไป และอย่าฝนตรงจุดที่เป็นที่อยู่ของคัพภะ วิธีนี้จะช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น
๓. การกะเทาะเอาเมล็ดออก นิยมทำกับพืชที่มีเมล็ดแข็ง เมื่อกะเทาะเปลือกหุ้มเมล็ดแตกออกแล้วจึงค่อยนำเมล็ดอ่อนภายในไปทำการเพาะ วิธีนี้จะช่วยให้เมล็ดพืชงอกได้เร็วกว่าวิธีการเพาะแบบไม่กะเทาะเปลือกหุ้ม เมล็ดพืชที่จะต้องทำการกะเทาะเมล็ดก่อนเพาะ ได้แก่ บ๊วย พุทรา สมอจีน
๔. การตัดปลายเมล็ด เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เมล็ดพืชงอกได้เร็วกว่าปกติ โดยตัดเปลือกหุ้มเมล็ดทางด้านตรงข้ามกับด้านหัวของคัพภะ และอย่าตัดให้เข้าเนื้อของเมล็ด นิยมใช้กับพืชที่มีเมล็ดแข็ง เช่น เหรียง หางนกยูงฝรั่ง
๕. การแช่น้ำ การนำเมล็ดไปแช่น้ำจะช่วยให้เมล็ดพืชงอกได้เร็วกว่าปกติ ทั้งนี้เพราะน้ำจะทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัว จึงเป็นการช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น น้ำที่ใช้แช่อาจจะเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น และช่วงเวลาการแช่จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับชนิดพืช พืชบางชนิดใช้เวลานาน ๑-๒วัน บางชนิดใช้เวลาประมาณ ๖-๑๒ ชั่วโมง ทั้งนี้สังเกตจากขนาดของเมล็ดขยายใหญ่และเต่งขึ้น หรือเปลือกหุ้มเมล็ดนิ่มก็นำไปเพาะได้ พืชที่นิยมใช้วิธีนี้ ได้แก่ น้อยหน่า มะขาม มะละกอ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าว ผักชี

Last Updated on Wednesday, 02 April 2014 07:15
 

Add comment


Security code
Refresh