วิชาชีววิทยา - การลำเลียงน้ำของพืช PDF Print E-mail
User Rating: / 2
PoorBest 
Written by punjalak   
Saturday, 29 March 2014 11:46

ที่มา : http://www.scicoursewarechula.com/ อัพโหลดโดย CoursewareMaster

 

หลังจากที่พืชสามารถดูดน้ำจากดินเข้าสู่รากพืชแล้ว น้ำจะถูกลำเลียงต่อไปยังส่วนของลำต้น โดยผ่านทางไซเล็ม (Xylem) ซึ่งกลไกที่พืชใช้ในการลำเลียงน้ำเกิดขึ้นได้หลายวิธี กล่าวคือ

1. แรงดันราก (Root pressure) เป็นแรงดันที่เกิดในไซเล็มของราก สามารถดันน้ำขึ้นสู่ส่วนบนของพืช แต่การลำเลียงน้ำวิธีนี้จะเกิดได้ง่าย ก็ต่อเมื่อดินมีน้ำอุดมสมบูรณ์ และจะเกิดขึ้นกับพืชบางชนิดเท่านั้น

2. แรงดึงคะปิลลารี (Capillary attraction) เป็นแรงดึงที่เกิดขึ้นจากเซลล์ภายในไซเล็มซึ่งมีลักษณะกลวงและเล็กมาก เรียกว่า เทรคีด (Tracheid) และเวสเซล (Vessel) ซึ่งเปรียบเสมือนคะปิลลารีที่ทำด้วยแก้ว  ความสูงของน้ำที่ถูกดูดขึ้นไป จะขึ้นอยู่กับขนาดของท่อลำเลียง อย่างไรก็ตาม การลำเลียงน้ำด้วยวิธีนี้ไม่สามารถลำเลียงน้ำให้ไปถึงส่วนยอดของพืชต้นสูงๆได้ เนื่องจากแรงดึงคะปิลลารีมีค่าน้อย

3. แรงดันเนื่องจากการคายน้ำ (Transpiration theory) บางครั้งเรียกว่า แรงดึงจากต้น (Shoot tension) เป็นแรงดันที่เกิดขึ้นจากการดึงน้ำขึ้นมาทดแทนน้ำที่เสียไปจากการคายน้ำ วิธีนี้สามารถลำเลียงน้ำขึ้นมาได้ในปริมาณมาก และแรงพอที่จะลำเลียงน้ำขึ้นถึงยอดพืช

Last Updated on Wednesday, 02 April 2014 07:16
 

Add comment


Security code
Refresh