Virology 2014 lecture #15 - Viral virulence |
|
|
|
Written by punjalak
|
Thursday, 03 April 2014 12:04 |
ที่มา : http://www.youtube.com/user/profvrr อัพโหลดโดย Vincent Racaniello
การแบ่งชนิดของไวรัสสามารถทำได้หลายวิธี 1.แบ่งตามชนิดของสารพันธุกรรมนิวคลีอิคแอซิด (Nucleic acid) ที่ศูนย์กลางของตัวไว รัสเป็นดีเอ็นเอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA) 2. แบ่งตามรูปร่างของเปลือกโปรตีน (Capsid) ที่หุ้มอยู่รอบตัวไวรัส เช่น อาจมีรูปร่างหลายเหลี่ยม หรือเป็นเกลียว เป็นต้น 3. แบ่งตามชนิดของเปลือกไขมันรอบตัวไวรัส (Lipid envelope) 4. แบ่งตามลักษณะการแบ่งตัวของไวรัส 5. แบ่งตามอวัยวะที่ไวรัสเข้าไปอยู่และทำให้เกิดโรค เช่น ◦ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis virus) จะเข้าไปอาศัยอยู่ในเซลล์ตับ ◦ ไวรัสสมองอักเสบ (Encephalitis virus) จะเข้าไปอาศัยอยู่ในเซลล์สมอง เป็นต้น
6.แบ่งตามพยาธิสภาพ (Pathology) ที่เกิดในร่างกายมนุษย์ เช่น◦การทำลายเซลล์โดยตัวไวรัสเองโดยตรง (Direct cytopathic effect) ◦ การทำลายเซลล์ที่มีไวรัสโดยระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายเอง ◦ การทำให้เซลล์ที่ไวรัสเข้าไปอยู่กลายเป็นเซลล์มะเร็ง (Oncogenic virus)
ไวรัสทำให้เกิดโรคกับร่างกายได้ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1.ไวรัสเกาะติดกับผนังเนื้อเยื่อหุ้มรอบเซลล์ (Cell membrane) โดยมากที่ผนังเนื้อเยื่อหุ้มรอบเซลล์จะมีตัวรับ (Receptor) ที่เหมาะกับโครงสร้างของไวรัสอยู่ด้วยจึงจะทำให้ไวรัสมาเกาะติดได้ง่าย 2. ไวรัสรุกรานเข้าภายในเซลล์และเริ่มแบ่งตัวเพิ่มปริมาณไวรัส 3. ไวรัสสร้างโปรตีนที่เหมาะกับสภาพความเป็นอยู่ของไวรัสภายในเซลล์ ทำให้ไวรัสที่เพิ่มขึ้นมานั้นสามารถอยู่อาศัยภายในเซลล์ได้ 4. ไวรัสจะเข้าไปที่นิวเคลียสของเซลล์มนุษย์และบังคับให้ลดการสร้างโปรตีนปกติของเซลล์นั้นๆ แต่จะสร้างเฉพาะโปรตีนที่เป็นประโยชน์กับไวรัสเท่านั้น ทำให้การทำงานของเซลล์เพื่อประโยชน์ของร่างกายมนุษย์ลดลง เปรียบเสมือนการยึดครองศูนย์กลางการทำงานของเซลล์ให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของไวรัสนั่นเอง 5. ผลที่ตามมาคือ ไวรัสจะใช้เซลล์มนุษย์เป็นโรงงานผลิตไวรัสออกมาจำนวนมหาศาล ในขณะเดียวกันเซลล์นั้นก็ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติจึงเกิดอาการของโรคตามมา ต่อมาเมื่อถึงระยะหนึ่ง เซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสนั้นก็จะตายหรือถูกทำลายไป ไวรัสที่อยู่ในเซลล์นั้นก็จะเคลื่อนย้ายเข้าไปยึดครองเซลล์อื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงต่อไป ถ้าเซลล์ของอวัยวะนั้นๆถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก ก็จะเกิดอาการของโรคขึ้นมาอย่างชัดเจน เช่น ◦ไวรัสตับอักเสบ ทำให้เกิดภาวะตับวาย (Liver failure) ◦ ไวรัสสมองอักเสบทำให้เกิดอาการหมดสติ ไม่รู้ตัว ชัก โคม่า (Coma) ◦ ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ทำลายเซลล์ประสาททำให้เกิดอาการเกร็งของกล้าม เนื้อ หมดสติ และเสียชีวิต
6.การติดเชื้อไวรัสหลายชนิดโดยเฉพาะโรคหวัด (Common cold) โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) โรคหัด (Measle) โรคอีสุกอีใส (Chicken pox) ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต้านทาน (Antibody) ต่อเชื้อไวรัสได้ทันท่วงที โดยมากจะไม่เกิน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าไปในร่างกาย ภูมิคุ้มกันต้านทานนี้สามารถทำลายเชื้อไวรัสได้ และทำให้หายจากโรคได้โดยไม่เกิดความเสียหายต่ออวัยวะนั้นๆ
โดยทั่วไป โรคติดเชื้อไวรัสมักรักษาได้หาย แต่ความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัสจะเช่น เดียวกับในการติดเชื้อต่างๆ เช่น แบคทีเรีย หรือ โรคเชื้อรา กล่าวคือ จะขึ้นกับ ชนิด/สายพันธุ์ของไวรัส ปริมาณไวรัสที่ร่างกายได้รับ สุขภาพเดิมของผู้ป่วย และในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต้าน ทานโรคต่ำ โรคมักรุนแรงกว่า เช่น •เด็กเล็ก •ผู้สูงอายุ • หญิงตั้งครรภ์ • ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง (เช่น โรคเบาหวาน คนที่ขาดอาหาร) • ผู้ป่วยที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค (เช่น ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ) • ผู้ป่วยที่ใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ (เช่น ในโรคหืด โรคภูมิแพ้) • และในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
|
Last Updated on Wednesday, 30 April 2014 09:39 |