วิชาชีววิทยา - การเจริญระยะหลังเอ็มบริโอ (Post embryonic development) PDF Print E-mail
User Rating: / 3
PoorBest 
Written by punjalak   
Monday, 31 March 2014 10:52

ที่มา : http://www.scicoursewarechula.com/ อัพโหลดโดย CoursewareMaster

สื่อการสอนโดย ความร่วมมือระว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

การเจริญของสัตว์อาศัยการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นๆมีแบบแผนแน่นอน กระบวนการเจริญจะต้องมีการเพิ่มจำนวน (cell multiplication) โดยแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส การเติบโต (growth) โดยการเพิ่มปริมาณโพรโตพลาสซึม การเปลี่ยนโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะ (cell differentiation) และการเกิดรูปร่างที่แน่นอน (morphogenesis) การเจริญของสิ่งมีชีวิตที่เริ่มตั้งแต่   ไซโกตแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็ว แล้วมี differentiation จนถึงระยะที่มีอวัยวะต่างๆ ครบเรียกว่า embryonic development

 

ไข่มนุษย์เป็นแบบ isolecithal egg ระยะ cleavage ภายหลังจากที่มีการปฏิสนธิของไข่และอสุจิคือ male and female pronuclei เคลื่อนที่มาผสมกันเกิดเป็น zygote ไซโกตจะเกิด cleavage แบ่งเซลล์แบบ holoblastic equal type จนได้ตัวอ่อนที่เรียกว่า morula จากนั้นเข้าสู่ระยะ blastula เกิดช่อง blastocyst cavity (blastocoel) อยู่ภายใน เซลล์จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ inner cell mass เป็นก้อนอยู่ตรงกลางด้านบน และ trophoblast เรียงล้อมรอบ blastocyst cavity เรียกตัวอ่อนระยะนี้ว่า blastocyst ต่อมา inner cell mass จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นแผ่น embryonic disc และแยกตัวออกจาก trophoblast โดยช่อง amniotic cavity ขณะเดียวกันตัวอ่อนก็เริ่มฝังตัวที่ผนัง endometrium ของมดลูกแม่ เรียกตัวอ่อนระยะนี้ว่า bilaminar embryo เพราะแผ่น embryonic disc ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชั้นคือ epiblast และ hypoblast เมื่อเข้าสู่ระยะ gastrula , bilaminar embryo จะเปลี่ยนเป็น trilaminar embryo เกิดการเจริญของ primitive streak เกิด involution สร้างเนื้อเยื่อ 3 ชั้น หลังจากนั้นจึงเกิด notochord , neural fold และ tube

 

 

Last Updated on Wednesday, 02 April 2014 07:12
 

Add comment


Security code
Refresh