ที่มา : http://www.scicoursewarechula.com/ อัพโหลดโดย CoursewareMaster
เกิดจากการแบ่งเซลล์ การขยายขนาดของเซลล์ และการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์ขณะเจริญเติบโต ซึ่งเกิดจากผลของฮอร์โมนหลายชนิด ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ กัน ได้แก่ Auxin(IAA), Giberellin, Cytokinin เป็นต้น
ส่วนต่าง ๆ ของพืชมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกระตุ้นของฮอร์โมนได้ไม่เท่ากัน ฮอร์โมนชนิดเดียวกันสามารถยับยั้งหรือกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับส่วนต่าง ๆ ของพืชเอง เช่น Auxin ในปริมาณที่มาก จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของยอด ยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้างและราก ส่วน Auxin ในปริมาณที่น้อย (ที่พอเหมาะ) จะกระตุ้นการเจริญของราก Growth movement แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. Autonomic movement เกิดจากสิ่งเร้าภายใน เช่น ฮอร์โมนต่าง ๆ ได้แก่ การสั่นของปลายยอดขณะเจริญเติบโต เนื่องจากยอดทั้ง 2 ข้างเจริญไม่เท่ากันในรอบวัน ทำให้เกิดการโยก-หมุน การบิดของลำต้นพันหลัก (Spiral movement )
2. Stimulus movement หรือ Paratonic movement เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ แสงสว่าง น้ำ, สารเคมี, แรงดึงดูดของโลก แบ่งเป็น
2.1 Tropic movement (Tropism) เป็นการเคลื่อนไหวที่มีทิศทางสัมพันธ์กับสิ่งเร้า มักเกิดที่ปลายยอดหรือปลายราก อาจเกิดได้ 2 ลักษณะคือ เข้าหาสิ่งเร้าที่ต้องการ (Positive : +) หรือ หนีจากสิ่งเร้าที่ไม่ต้องการ (Negative : -) เช่น
Phototropism Geotropism Chemotropism Hydrotropise Thigmotropism |
การสนองตอบแสง การสนองตอบแรงดึงดูด การสนองตอบสารเคมี การสนองตอบน้ำ สนองตอบการสัมผัส |
โดยยอดเป็น + และรากเป็น - โดยยอดเป็น - และรากเป็น + เช่น Pollen tube เข้าหา glucose, แร่ธาตุกับรากในดิน โดยยอดเป็น - และรากเป็น + เช่น มือเกาะของตำลึงเป็น + |
2.2 Nastic movement (Nasty) เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดจากการเจริญเติบโตโดยตรง ทิศทางของการเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า ได้แก่ การหุบ - บาน ของดอกไม้ เมื่อได้รับแสงเป็น Ohotonasty หรือการบานของดอกทิวลิปเมื่ออุณหภูมิสูง เป็น Thermonasty
|